มหาโบโรบูดูร์แห่งดินแดนหมื่นเกาะ

          หลังจากที่ได้ชื่นชมความงามของโบราณสถานในเมืองเสียมราฐกันไปแล้ว ในบล็อกนี้ผู้เขียนอยากพานักอ่านทุกท่านไปสัมผัสกับโบราณสถานภาคพื้นสมุทรในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา ที่ได้ชื่อว่าเป็นมรดกโลก นั่นก็คือโบโรบูดูร์หรือบุโรพุทโธนั่นเอง ซึ่งผู้เขียนยังไม่ได้มีโอกาสไปสัมผัสให้เห็นด้วยตาตัวเอง แต่มีความปราถนาอย่างแรงกล้าที่จะไปเยี่ยมชมสักครั้ง จึงได้รวบรวมข้อมูลของสถานที่แห่งนี้มาแบ่งปันให้กับนักอ่านทุกท่าน


ที่มา: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjVeQ3lX6R0RZSX_25PC62TuStC0wW_puJUitDCz_YfCvVGRTKKOtI_ycRUcptxiwR5D-OKmxhtrOvit4LYNudaNi1Bg1MrFpLQ7jVPeh16a5Hn4LhBaPhKZ7MXDO1lY9aWGCgvODs7mg/s1600/borobudur-spiral.jpg
          โบโรบูดูร์ หรือ บุโรพุทโธ ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของเกาะชวา หรือเมืองมาเกอลัง ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน     
          โบโรบูดูร์ถูกค้นพบโดยกองทัพอังกฤษที่เข้าไปสำรวจในชวากลางที่เชื่อกันว่ามีโบราณสถานตั้งอยู่ เมื่อพบก็เจอร่องรอยการพังทลายจากน้ำที่กัดเซาะลงไปด้านล่างจนเกือบทำให้มหาเจดีย์นี้พังทลาย จนคณะนักโบราณคดีชาวฮอลันดาเริ่มบูรณะขึ้นเกือบสมบูรณ์ ในประวัติ โบโรบูดูร์นั้นสร้างขึ้นในพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัย เป็นศิลปะแบบฮินดูชวาผสมอินเดียเข้าด้วยกัน สร้างจากหินภูเขาไฟที่ครอบลงบนเนินเขาธรรมชาติซึ่งหาได้ง่ายในพื้นที่แถบนั้น 
ที่มา : https://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1GxVIdHHWNNGPAhUr3N9pjuJpJUU2.webp


ลักษณะสถาปัตยกรรม
         เป็นการก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนากับจักรวาล โครงสร้างเป็นรูปโดมใหญ่ มองมาจากที่ไกลเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกันไป 8 ชั้น มีสถูปหิน 72 สถูป เรียงอยู่รอบๆ ใต้ฐานเป็นภาพแกะสลักภาพนูนต่างๆซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นก็จะแสดงคติธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา พร้อมด้วยภาพพุทธประวัติอีกกว่า1,300ภาพประกอบอยู่

ที่มา : https://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1GxVIdHHWNNGPAhUiRjXTM36rDp3V.webp

ซึ่งจุดที่น่าสนใจคงจะเป็นสถูปเล็กๆที่มีพระพุทธรูปบรรจุไว้จำนวนมาก เมื่อนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชม มัคคุเทศน์ก็จะเชิญให้เอามือลอดลูกกรงไปจับต้องพระหัตถ์ของพระพุทธรูปที่อยู่ด้านใน จากนั้นมัคคุเทศน์ก็ท่องบทสวดมนต์ให้ฟัง


ที่มา : https://holidayfc.com/wp-content/uploads
            นับว่าโบโรบูดูร์นี้เป็นสถาปัตยกรรมโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดทางพุทธศาสนา จนในปี พ.ศ. 2534 โบโรบูดูร์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก
          สำหรับนักอ่านท่านใด ที่อยากลองไปเยี่ยมชมความงามของโบราณสถานแห่งนี้ ค่าเข้าชมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 125,000 รูเปียห์ (~273 บาท) เด็ก 50,000 รูเปียห์ (~110 บาท)
เปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์-อาทิตย์ เวลา 06:00 น. - 17:00 น.


          โบราณสถานแห่งนี้นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซียที่ประชากรกว่า90%เป็นชาวอิสลามแล้ว ยังได้เห็นศิลปะในยุคนั้นที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืนเกิดเป็นความงามที่ทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งถ้ามีโอกาสผู้เขียนเองก็อยากจะไปเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต












เอกสารอ้างอิง
พระมหาปรีชา เขมนนฺโท อนุวัต กระสังข์. (2560). ความศรัทธา : มหาสถูปบุโรพุทโธสู่ความยั่งยืนพุทธศาสนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 19(2), 159-172.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำารงราชานุภาพ. (2518). ตำนานพุทธเจดีย์. พิมพ์ครั้ง
ที่ 3. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
เอลชา ไชนุดิน, เพ็ชรีสุมิตร. (2552). ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

Comments