Homo habilis
เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์เรามีต้นกำเนิดมาช้านานตั้งแต่หลายล้านปีก่อน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาจากเดิมที่เดิน 4 ขาเหมือนกับลิง ก็ค่อย ๆ พัฒนากลายเป็นมนุษย์ที่มีสติปัญญามากขึ้น มีอารยธรรม การดำรงชีวิต สร้างอุปกรณ์ที่ช่วยในการหาอาหาร การเพาะปลูก จนกระทั่งสามารถสร้างสังคมได้ ซึ่งมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีหลายสปีชีส์ แหล่งกำเนิดและการใช้ชีวิตก็แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงสปีชีส์แรกที่มีการใช้เครื่องมือหินและเริ่มความคล้ายคลึงกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน
OH7 ภาพจาก https://www.calacademy.org/explore-science/new-discovery-from-an-old-fossil |
Homo
habilis เป็นสายพันธุ์แรกสุดในกลุ่มโฮมินิดส์
ตระกูล Homo โดยชื่อนี้มีความหมายว่า .Handy man แปลว่า มนุษย์ที่เก่งในการใช้มือ
พบในแอฟริกาเท่านั้น โดยจะพบที่แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก มีอายุอยู่ในช่วง 2.4 – 1.4 ล้านปีมาแล้ว
ค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงปี 1960 ที่โอลดูไว
กอร์จ ในประเทศแทนซาเนีย โดยชิ้นส่วนที่พบคือ กระดูกเท้าและชิ้นส่วนกะโหลกเรียกว่าตัวอย่าง
OH
7 ค้นพบโดยทีมวิจัยของ
หลุยส์ ลีกกี นักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้
ซึ่งบริเวณที่ขุดค้นพบนั้นมีการค้นพบเครื่องมือหินด้วย Homo habilis
จึงถือเป็นสายพันธุ์แรกที่ใช้เครื่องมือหินที่ใช้ในการล่าสัตว์
เครื่องมือหินที่ใช้เรียกว่า เครื่องมือหินแบบโอลโดวาน ซึ่งพบมากในโอลดูไว
กอร์จ เป็นเครื่องมือหินกะเทาะทำมาจากหินภูเขาไฟและหินควอตซ์ มีรูปร่างที่เหมาะมือ
กะเทาะอย่างง่ายให้มีคมรอบข้าง เป็นเครี่องมือที่เหมาะกับการสับ ตัด หั่นเนื้อ การขูดเนื้อออกจากกระดูกเพื่อบริโภค
ซึ่งถูกพบครั้งแรกพร้อมกับฟอสซิลของ Homo
habilis และต่อมาก็พบกระจายอยู่ทั่วบริเวณแอฟริกาตะวันออก
กลาง และใต้ โดยเครื่องมือเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่ค้นพบเกี่ยวกับหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
Oldowan chopping tools ภาพจาก http://lithiccastinglab.com/gallery-pages/oldowanstonetools.htm |
ลักษณะทางกายภาพนั้นแตกต่างจากออสตราโลพิเทคัสซึ่งเป็นสายพันธุ์แรก ๆ ที่เริ่มมีวิวัฒนาการแตกต่างจากลิง โดย Homo habilis มีสมองที่ใหญ่มากขึ้นกว่า 40% คือมีความจุประมาณ 630 ลูกบาศก์เซนติเมตร กะโหลกจึงค่อนข้างกลมมนคล้ายกับมนุษย์ยุคปัจจุบันแต่หนากว่า โครงสร้างมีความซับซ้อน มีเส้นที่แสดงถึงพัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฟันมีขนาดเล็กกว่าออสตราโลพิเทคัส แต่ยังคงมีความหนาและขากรรไกรนั้นยังคงแข็งแรง แสดงให้เห็นว่ายังคงเคี้ยวอาหารหนักบ้าง อาจมีสาเหตุมาจากอาหารหมดเลยจำต้องกินอาหารที่เคี้ยวยาก มีสันคิ้วที่หนา เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนไปยังสมองเมื่อเคี้ยวอาหารที่แข็ง สามารถเดิน 2 ขาได้ มีส่วนสูงโดยประมาณคือ 100 – 135 เซนติเมตร และน้ำหนักประมาณ 32 กิโลกรัม
ไม่พบฟอสซิลของ Homo habilis
นอกทวีปแอฟริกาเลย ทำให้สันนิษฐานได้ว่า Homo
habilis นั้นอาศัยอยู่เพียงแค่ในทวีปแอฟริกาเท่านั้น โดยอาศัยอยูในสภาพแวดล้อมที่มีทุ่งหญ้าเป็นส่วนใหญ่
สภาพภูมิอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้คิดหาวิธีสำหรับหาอาหาร
รวมถึงการใช้เครื่องมือ
มีการวิเคราะห์ทางเคมีว่าสายพันธ์นี้ดเป็นมังสวิรัติเสียส่วนใหญ่แต่ก็มีการบริโภคเนื้อสัตว์ด้วย
มีข้อสันนิษฐานว่า Homo habilis
เป็น
Scavenger
คือพวกที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่สัตว์ที่กินเนื้อทิ้งไว้
เพราะมีการพบร่องรอยตัดบนกระดูก ซึ่งเป็นชิ้นส่วนบางส่วนมากกว่าจะเป็นทั้งโครง
บ่งชี้ว่า Homo habilis บางครั้งไม่ได้ล่าสัตว์เองโดยตรง
ภาพจำลองชีวิตของ Homo habilis
ภาพจาก https://www.blockdit.com/posts/5e704efac0de350c8fe827bb
Homo
habilis เป็นสายพันธุ์แรกใช้เครื่องมือในการหาอาหารร่วมด้วย
ทำให้ได้อาหารที่หลากหลายซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาสมอง ทำให้สายพันธุ์ต่อ ๆ
มามีการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญคือเป็นสายพันธุ์แรก ๆ
ที่เริ่มมีสติปัญญา
หรืออาจจะมีภาษาพูดเป็นของตนเองที่ใช้สำหรับการสื่อสารในกลุ่มของตนเอง
ทำให้เราได้เห็นว่ามนุษย์ยุคก่อนมีสติปัญญา
พยายามที่จะหาหนทางดำรงชีวิตเพื่อให้อยู่รอด
เอกสารอ้างอิง
ธนิก
เลิศชาญฤทธ์. (2548). วิวัฒนาการของมนุษย์. เอกสารคำสอนภาควิชาโบราณคดี
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564.
จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/e-book/development/chapter7.pdf
บ้านจอมยุทธ.
(2543). พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม แฮบิลิส (Homo
Habilis). สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564. จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/human/04.html
Fran Dorey. (2020). Homo
habilis. Research on 5 August 2021. From https://australian.museum/learn/science/human-evolution/homo-habilis/
Smithsonian National
Museum of Natural History. (2021). Homo habilis. Research on 5 August
2021. From https://humanorigins.si.edu/evidence/human-fossils/species/homo-habilis
The HUMAN JOURNEY.
(2021). Homo Habilis: Early Toolmakers. Research on 5 August 2021. From https://humanjourney.us/discovering-our-distant-ancestors-section/homo-habilis/
Comments
Post a Comment